เอาใจเด็กเรียน! กยศ. ชู “เงินต้นลด-ดอกเบี้ยต่ำ” ดันเรียนสายวิชาชีพ-ป.ตรี 10 อุตสาหกรรม
โดย:
thatphanomriverviewhotel
[IP: 183.88.237.xxx]
เมื่อ: 2019-05-31 14:13:35
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) สนองนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อรองรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และ 3 โครงสร้างพื้นฐาน ป้อนกำลังคนในสายที่เป็นความต้องการในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และวิชาชีพสาขาขาดแคลนให้ตลาดแรงงาน โดยเมื่อเรียนจบแล้วจะได้ดอกเบี้ยอัตราพิเศษไม่เกิน 0.5% ต่อปี และได้ส่วนลดเงินต้น 30-50% นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่า กองทุน ได้ร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง เพื่อจัดทำ “โครงการส่งเสริมการพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital) เพื่อรองรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และ 3 โครงสร้างพื้นฐาน ผ่านกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา” ดำเนินการระหว่างปีการศึกษา 2562 – 2566 (5 ปีการศึกษา) สำหรับนักศึกษาผู้กู้ยืมเงินในระดับปริญญาตรี เมื่อสำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาที่กำหนดจะคิดดอกเบี้ยอัตราไม่เกินร้อยละ 0.5 ต่อปี และได้ส่วนลดเงินต้นร้อยละ 30 สำหรับนักเรียน-นักศึกษาผู้กู้ยืมเงินในระดับอาชีวศึกษา เมื่อสำเร็จการศึกษา ในสาขาวิชาที่กำหนดจะคิดดอกเบี้ยอัตราไม่เกินร้อยละ 0.5 ต่อปี และได้ส่วนลดเงินต้นร้อยละ 50 แต่หากผู้กู้ยืมเงินไม่สามารถสำเร็จการศึกษาหรือไม่ได้สำเร็จการศึกษาตามสาขาวิชาที่กำหนดไว้หรือผิดนัดชำระหนี้ จะไม่ได้รับการคิดดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดและไม่ได้รับส่วนลดเงินต้น โดยจะต้องชำระหนี้ตามระเบียบของกองทุน ซึ่งคาดว่าจะช่วยสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเพิ่มกำลังแรงงานในอนาคตที่สามารถตอบสนองความต้องการให้ภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจให้ตรงกับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศตามแนวนโยบายประเทศไทย 4.0 ทั้งนี้ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ประกอบด้วย อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมแพทย์ครบวงจร ส่วน 3 โครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ อุตสาหกรรมระบบราง อุตสาหกรรมพาณิชย์นาวี อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ โครงการดังกล่าวเป็นการกระตุ้นให้ผู้ที่อยู่ในวัสนับสนุนโดยเว็บไซต์ MarketSavvy
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments